หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมปฐมนิเทศสหกิจศึกษาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สำหรับภาคปลาย ประจำปีการศึกษา 2564 ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ระหว่างเวลา 13:00-15:00 น. ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนออกฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา ระหว่างวันที่ 7 ธันวาคม 2564 – 25 มีนาคม 2565 (รวมระยะเวลา 4 เดือน) โดยมีคณาจารย์ของหลักสูตรฯ 6 ท่านและนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 45 คน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
Category: สหกิจศึกษา
กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่การทำงาน หัวข้อ “สอนไทยไม่ตกเทรนด์”: แนวทางการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ
วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม 2564 เวลา 13.00-16.00 น. สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่การทำงาน หัวข้อ “สอนไทยไม่ตกเทรนด์”: แนวทางการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ ผ่านโปรแกรม Zoom Conference โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ ดร.ยิ่งยศ กันจีนะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาเป็นวิทยากรบรรยายในกิจกรรมดังกล่าว โดยครั้งนี้เปิดให้นักศึกษาเข้ารับฟังได้ทุกชั้นปี ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีกิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่การทำงาน “การพัฒนาบุคลิกภาพและการสร้างภาพลักษณ์ในการทำงาน” ที่จัดขึ้นเพื่อนักศึกษาปีที่ 3 และ 4 รายงานโดย ทัศนียา แก้ววังชัย กิจกรรมเริ่มเวลา 13.10 น. ในช่วงแรกก่อนการบรรยาย วิทยากรให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแนะนำตัวด้วยชื่อ-นามสกุล และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น การพูดคุย หรือการสอนภาษาไทยให้กับชาวต่างชาติ ด้วยทางหลักสูตรฯ มีการเปิดสอนภาษาในอาเซียนให้กับนักศึกษาทั้งหมด 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาเวียดนาม และบาฮาซาอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังมีภาษาเสรีอื่น ๆ…
กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่การทำงาน “การพัฒนาบุคลิกภาพและการสร้างภาพลักษณ์ในการทำงาน” ประจำปีการศึกษา 2564
วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม 2564 เวลา 13.00 น. – 16.00 น. สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรม “การพัฒนาบุคลิกภาพและการสร้างภาพลักษณ์ในการทำงาน” ผ่านโปรแกรม Google Meet ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 เป็นครั้งแรกของปีการศึกษา 2564 โดยวิทยากร ผศ.ดร.อรวี บุนนาค อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเชี่ยวชาญในด้านบุคลิกภาพ การสื่อสาร การพูดในชุมชน และการจัดการภาพลักษณ์ในองค์กร ซึ่งอาจารย์เคยเป็นวิทยากรให้กับนักศึกษารุ่นที่ 1 ก่อนออกไปปฏิบัติสหกิจศึกษา ในปี พ.ศ. 2562 “อบรมเตรียมความพร้อม การพัฒนาบุคลิกภาพ มารยาทการเข้าสังคม ทักษะการสื่อสารสู่ความสำเร็จในการทำงาน” …
ปฐมนิเทศสหกิจศึกษาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563
หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมปฐมนิเทศสหกิจศึกษาสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของหลักสูตรขึ้น ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09:00-12:00 น. ที่ห้อง HS5307 เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกสหกิจศึกษาในภาคปลาย ปีการศึกษา 2563 โดยมีคณาจารย์ 5 ท่าน และนักศึกษาอีก 50 คนเข้าร่วมโครงการ
การนิเทศนักศึกษาในโครงการสหกิจศึกษาอาเซียน ณ นครโฮจิมินห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2562 หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีนักศึกษาออกฝึกสหกิจศึกษา จำนวน 35 คน ในจำนวนนี้มี 10 คนที่ออกฝึกสหกิจศึกษาอาเซียน ในประเทศเวียดนาม และฟิลิปปินส์ โดยในประเทศเวียดนาม หรือสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีนักศึกษาออกฝึกสหกิจศึกษา จำนวน 7 คน ในแหล่งฝึกสหกิจศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ซีพี เวียดนาม คอร์ปอเรชั่น และเคเอฟซี เวียดนาม ซึ่งมี ผศ.ดร.ธนนันท์ บุ่นวรรณา เป็นอาจารย์นิเทศนักศึกษาในครั้งนี้ รายงานโดย กัญญาณัฐ โพธิ์คำ
ประสานงานสหกิจศึกษาอาเซียนที่ประเทศฟิลิปปินส์
ความพยายามในการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกัน (MOU) ระหว่าง ATENEO DE MANILA UNIVERSITY ประเทศฟิลิปปินส์ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความก้าวหน้ามากขึ้น เมื่อตัวแทนของคณะฯ ที่ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศเรศ ดลเพ็ญ จากสาขาวิชาภาษาไทย และอาจารย์ ดร.เวียงคำ ชวนอุดม สาขามนุษยศาสตร์ ได้เข้าไปเจรจาทำให้มีความคืบหน้าในการลงนาม เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2562 อันจะทำให้การประสานงานและร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ เป็นไปโดยสะดวก โดยเฉพาะการขอความร่วมมือในการส่งนักศึกษามาฝึกสหกิจศึกษาที่ประเทศฟิลิปปินส์
ประชุมทำความเข้าใจเรื่อง สหกิจศึกษา สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3
สหกิจศึกษาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เป็นรายวิชาที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จะต้องออกฝึกปฏิบัติงาน ในภาคปลายของปีที่ 4 แต่จะต้องมีการเตรียมการแต่เนิ่น โดยเฉพาะการหาสถานที่ฝึกสหกิจศึกษาฯ ทางหลักสูตรจึงจัดให้มีการประชุมทำความเข้าใจ และตัดสินใจเลือกสถานที่ฝึก เพื่อจะได้มีเวลาสำหรับการติดต่อประสานงานและการเตรียมความพร้อมมากขึ้น โดยกิจกรรมนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2562 เวลา 17.20-18.00 น. ณ ห้อง 5409 อาคาร HUSO.05 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รายงานโดย ศรัณย์พร อึ้งวนารัชต์
อาจารย์ของหลักสูตร SEAS-KKU เดินทางไปบรรยายพิเศษและประสานความร่วมมือเรื่องสหกิจศึกษาในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ระหว่างวันที่ 6-9 พฤศจิกายน 2561 อาจารย์ ดร.จิราธร ชาติศิริ อาจารย์ประจำหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ได้เดินทางไปยังเมืองอัมบน ประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะ Invited Speaker ในงานประชุมวิชาการ “Science and Education for Improving Learning Quality in Moluccas Archipelago” ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2561 โดย University of Pattimura
หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มข เข้าพบกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์
หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ประธานหลักสูตร อาจารย์ ดร.เบญจวรรณ นาราสัจจ์ และทีมงานประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนนันท์ บุ่นวรรณา และอาจารย์ ดร.เวียงคำ ชวนอุดม ได้รับเกียรติจากท่านกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ นางอุรีรัชต์ รัตนพฤกษ์ ให้เข้าพบและหารือเรื่องสหกิจศึกษา เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2561 ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
เข้าร่วมนิเทศสหกิจศึกษาอาเซียน ณ นครเวียงจันทน์ สปป.ลาว
งานประสานงานสหกิจศึกษา สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ดำเนินโครงการ “ประเมินและติดตามนักศึกษาสหกิจศึกษาอาเซียน ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” ระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคม 2560 โดยมีคณาจารย์และเจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเครือข่ายในภาคอีสานเข้าร่วมกว่า 30 ท่าน ในการนี้ ดร.เวียงคำ ชวนอุดม เป็นตัวแทนหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในการติดตามและประเมินนักศึกษาในโครงการสหกิจศึกษาอาเซียนในครั้งนี้ด้วย โดยหน่วยงานหลักที่ทางคณะนิเทศมีกำหนดเดินทางไปประชุมพูดคุยคือ สถานทูตไทย และธนาคารพงสะหวันจำกัด ในนครเวียงจันทน์ ในแต่ละหน่วยงานได้ให้รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน่วยงานของตน และภารกิจในการดูแลนักศึกษาสหกิจศึกษาอาเซียน ซึ่งมีจุดดีและจุดด้อยในแต่ละที่แตกต่างกัน จากนั้นเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้บอกเล่ารายละเอียดการทำงาน การใช้ชีวิต ปัญหาและอุปสรรคในระยะสามเดือนที่ผ่านมา ปิดท้ายด้วยการแลกเปลี่ยนระหว่างคณะผู้บริหารของหน่วยงานและคณาจารย์นิเทศ การสอบถามและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา การเดินทางไปสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในครั้งนี้นับว่าได้ประโยชน์มากสำหรับอาจารย์นิเทศใหม่และอาจารย์นิเทศผู้มีประสบการณ์ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน การได้มีโอกาสลงพื้นที่เรียนรู้ถึงปัญหาอุปสรรคในการทำงานและการใช้ชีวิตของนักศึกษา การได้สัมผัสเรียนรู้จักหน่วยงานราชการและเอกชนต่างๆ ในเวียงจันทน์ ซึ่งข้อมูลและประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้จะได้นำไปวางแผนและเตรียมการสำหรับงานสหกิจศึกษาอาเซียนของหลักสูตรต่อไป