รองศาสตราจารย์ ดร. ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง ประธานหลักสูตรลุ่มน้ำโขงศึกษา สาขาอาณาบริเวณศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติประจำปี 2557-2558 สายผู้สอน ด้านการเรียนการสอนระดับดีเลิศ ประจำปี 2557 ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดงาน “ชื่นชมยินดี ด้วยไมตรีและขอบคุณ ประจำปีพุทธศักราช 2559” เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อมอบรางวัลเชิดชูเกียรติแก่ผู้ทำความดี มีคุณูปการต่อมหาวิทยาลัย และทำคุณประโยชน์ต่อสังคม ทั้งนี้มีผู้เข้ารับมอบรางวัล จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้งอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 12 ท่าน
รับตรง 2559 รอบที่ 2 (โควต้าฯภาค และทั่วประเทศ) หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มข
สาขาอาณาบริเวณศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดรับสมัครเข้าศึกษาหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โควต้ารอบที่ 2 (โควต้าฯภาค และทั่วประเทศ) จำนวน 15 คน เริ่มรับสมัครในวันที่ 13-19 กพ. 2559 ศึกษารายละเอียดได้ที่ https://admission.kku.ac.th/ https://apply.kku.ac.th/applyfaculty2.php (ดาวน์โหลด pdf) สาขาวิชาที่เปิดรับตรงรอบที่ 2ระเบียบการรับสมัครคัดเลือกบุคคล รับตรงรอบที่ 2 และปฏิทินการรับสมัคร *หมายเหตุ* รายชื่อหลักสูตรจะอยู่ต่อท้ายคณะที่สังกัดวิทยาเขตหนองคาย แต่หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น เรียนที่ขอนแก่น https://admission.kku.ac.th/kku_intro4.php
กำหนดการสอบ Admissions 2559
ใครที่พลาดการสอบรับตรง สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ก็ต้องรอช่วงประกาศรับสมัคร Admissions ซึ่งจะเปิดรับสมัครในระหว่างวันที่ 10-17 พฤษภาคมนี้ แต่ควรตรวจเช็คข้อมูลซื้อระเบียบการรับสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 6-17 พฤษภาคม ดูรายละเอียดได้ตามลิงก์นี้ ปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (Admissions) ปีการศึกษา 2559 หรือ ตรวจสอบข้อมูลทางเว็บไซต์นี้ www.aupt.or.th
Slideshow แนะนำหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2558) มีความมุ่งหมายที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในมิติประวัติศาสตร์ ภาษา สังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา โดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว หรือสารสนเทศ ด้วยพื้นฐานความรู้เชิงบูรณาการ การสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพร้อมสำหรับการทำงานข้ามวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการทำงานในหลากหลายสาขาวิชาชีพ ได้แก่ นักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา/อาเซียนศึกษา ผู้ช่วยสอน/อาจารย์ในสถาบัน การศึกษาของรัฐและเอกชน นักวิจัย นักเขียน นักวิจารณ์ บรรณาธิการ นักสารสนเทศ ผู้สื่อข่าว ผู้ปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวและสารคดี เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน เช่น กระทรวง องค์การมหาชนที่เกี่ยวข้องกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต/สถานกงสุลในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เป็นต้น นี่คืองานนำเสนอของ Microsoft Office แบบฝังตัวที่ทำงานโดย Office Online
รับตรง 2559 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มข
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2558) เปิดรับตรง 2559 โดยจะเปิดรับสมัคร ในหมวดวิชาบังคับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ประจำปี 2559 รอบที่1 นักเรียนในภาคอีสาน ในวันที่ 12-18 มกราคม 2559 คะแนนที่ใช้ ภาษาไทย 30 สังคมศึกษา 30 และภาษาอังกฤษ 35 สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://kkuseastudies.blogspot.com/ หรือสอบถามได้ที่ ดร.เบญจวรรณ นาราสัจจ์ email: bennar@kku.ac.th หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ งานบริการการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทรศัพท์ 0-4320-4537 เบอร์ภายใน 44569 หรือที่เว็บไซต์ http://www.huso.kku.ac.th โดยหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มีความมุ่งหมายที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในมิติประวัติศาสตร์ ภาษา สังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา รวมทั้งด้านประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว หรือสารสนเทศ ด้วยพื้นฐานความรู้เชิงบูรณาการ การสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพร้อมสำหรับการทำงานข้ามวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการทำงานในหลากหลายสาขาวิชาชีพ ได้แก่…
ระเบียบการรับตรง มข.
ระเบียบการรับสมัครเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวิธีรับตรง (โควตาภาคฯ รอบที่ 1) ประจำปีการศึกษา 2559 เข้าไปศึกษารายละเอียดได้ที่ https://apply.kku.ac.th/ หรือ ดาวน์โหลดไฟล์ pdf ได้ ที่นี่ *หมายเหตุ* รับตรง มข.(รอบที่1 นักเรียนในภาคอีสาน) 12-18 มกราคม 2559คะแนนที่ใช้ ภาษาไทย 30 สังคมศึกษา 30 และภาษาอังกฤษ 35
รับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปี 2559
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2558) มีความมุ่งหมายที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในมิติประวัติศาสตร์ ภาษา สังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา โดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว หรือสารสนเทศ ด้วยพื้นฐานความรู้เชิงบูรณาการ การสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพร้อมสำหรับการทำงานข้ามวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการทำงานในหลากหลายสาขาวิชาชีพ ได้แก่ นักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา/อาเซียนศึกษา ผู้ช่วยสอน/อาจารย์ในสถาบัน การศึกษาของรัฐและเอกชน นักวิจัย นักเขียน นักวิจารณ์ บรรณาธิการ นักสารสนเทศ ผู้สื่อข่าว ผู้ปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวและสารคดี เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน เช่น กระทรวง องค์การมหาชนที่เกี่ยวข้องกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต/สถานกงสุลในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เป็นต้น ในการนี้ทางหลักสูตรฯ จะเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2559 ในหมวดวิชาบังคับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการรับตรง จำนวนรับ 30 คน และ Admission จำนวนรับ 10 คน รวมทั้งสิ้น 40 คนซึ่งมีรายละเอียดของหลักสูตรดังต่อไปนี้ โครงสร้างหลักสูตร 1)…
คุณลักษณะของบัณฑิต ตามหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
ประเทศไทยได้วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 เน้นในเรื่องของการเตรียมความพร้อมและการปรับตัวสู่บริบทโลกและภูมิภาค สร้างความร่วมมือแบบเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยในส่วนของอาเซียนจะเน้นเรื่องความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พัฒนาบุคลากรและเสริมสร้างสถาบันทางการศึกษาให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับระดับประเทศ สถาบันการศึกษาของไทยจึงต้องมีความรวดเร็วก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนร่วมกันที่จะพัฒนาด้านเศรษฐกิจการศึกษา วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ในฐานะมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ (1ใน10) ในประเทศ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาตนเองตามแผนยุทธศาสตร์การบริหาร พ.ศ. 2559-2562 มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถในสาขาที่เป็นความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อรองรับความต้องการทรัพยากรบุคคลสำหรับการพัฒนาประเทศ ที่มา : http://www.theactkk.net/ คุณลักษณะที่สำคัญของบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะทางวิชาการและวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบที่พร้อมทำงานในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม สังคมและชุมชนที่มีความแตกต่างทั้งทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ด้วยความตระหนักในความสำคัญดังกล่าว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จึงได้ดำเนินการขออนุมัติเปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ขึ้น โดยมุ่งให้บัณฑิตมีคุณภาพ R3C ตามอัตลักษณ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย ความพร้อมทำงาน (Ready to Work) คือมีความรู้ทางวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาเป็นอย่างดี และมีความสามารถในการปฏิบัติงานในสาขาวิชาดังกล่าวอย่างแท้จริง การสื่อสารภาษาต่างประเทศ (Foreign Languages Communication) คือมีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาในประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนอีกอย่างน้อย 1 ภาษา เรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based…
มูลเหตุแห่งการพัฒนาหลักสูตร เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และพันธกิจของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาไทย ให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคมไทยและประชาคมอาเซียน ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้กำหนดเป็นส่วนหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัย (พ.ศ.2559-2562) ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ปัญหาในสภาพความเป็นจริงและสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่นำไปสู่นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ของประเทศและตลาดแรงงานอาเซียน โดยมุ่งเน้นด้านการผลิตองค์ความรู้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา การประยุกต์ใช้และการเผยแพร่ด้วยมุมมองที่สร้างสรรค์ ช่วยเพิ่มความเข้าใจและความร่วมมืออันดีระหว่างสมาชิกประชาคมอาเซียนทั้งในระดับประเทศและระดับปัจเจก รวมถึงมีขีดความสามารถในการแข่งขันในการประกอบกิจการหรือปฏิบัติงานด้วยองค์ความรู้และทักษะแบบบูรณาการ บนพื้นฐานของทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาอาเซียน และองค์ความรู้ประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว หรือสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำ ที่มีผู้ต้องการเข้าศึกษามากที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศไทย ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ซึ่งเป็นดินแดนที่มีเนื้อที่มากที่สุดเทียบได้กับหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งประเทศ มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น แตกต่างจากภูมิภาคอื่น อีกทั้งจังหวัดขอนแก่น เป็นหนึ่งในจังหวัดที่ตั้งอยู่บนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงแนวตะวันออก-ตะวันตก (GMS East-West Economic Corridor-EWEC) ที่เชื่อมเมืองต่างๆ ของประเทศเวียดนาม สปป.ลาว และพม่า ไปยังคาบสมุทรอินเดียและตะวันออกกลาง ที่มา : https://apply.kku.ac.th/ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะมีการพัฒนาทางการศึกษา เศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง ขณะที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆที่เชื่อมโยงกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวและด้านสารสนเทศ จึงมีความพร้อมในการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองตลาดงานทั้งสองด้าน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขงเป็นแหล่งผลิตองค์ความรู้และสนับสนุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเกี่ยวกับประเทศในลุ่มน้ำโขงมาเป็นเวลา…
สถานการณ์ทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ที่นำมาสู่การพัฒนาหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
นอกเหนือจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) แล้ว อีกเสาหลักหนึ่งใน 3 เสาของประชาคมอาเซียนคือ การจัดตั้งประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) เป้าหมายคือ การยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกด้านให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม พร้อมรับมือกับผลกระทบอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีสำนึกความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ มรดกทางวัฒนธรรมร่วมกัน ที่มา : http://www.vowpailin.com/tag/asean-community/ กระนั้น ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความสัมพันธ์ข้ามพรมแดนระหว่างผู้คนในประเทศต่างๆ ภายใต้กิจกรรมด้านการค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน การท่องเที่ยว และการศึกษา ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมในแต่ละประเทศอาเซียนเป็นไปอย่างซับซ้อน มีทั้งการเปิดรับวัฒนธรรมสากล หรือวัฒนธรรมมวลชนเข้าผสมผสาน หรือแทนที่วัฒนธรรมท้องถิ่น กับการสร้าง/รื้อฟื้นอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อตอบโต้การกดทับที่ผ่านมาของรัฐชาติ หรือภายใต้ความสัมพันธ์กับคนต่างกลุ่มชาติพันธุ์ในท้องถิ่นเดียวกัน รวมถึงการตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาวัฒนธรรมให้เป็นสินค้าด้านการท่องเที่ยว ยิ่งกว่านั้นการใช้ข้อมูลข่าวสารสถานการณ์ปัจจุบัน และประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างดินแดนต่างๆ ในอดีต ยังคงมีแนวโน้มในการก่อความขัดแย้งแข่งขันและความหวาดระแวงต่อกันมากกว่าความร่วมมือและความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน ทั้งในระดับรัฐต่อรัฐ ภาคประชาสังคมกลุ่มต่างๆ และทัศนคติของประชาชนในแต่ละประเทศ ดังนั้น การศึกษาในปัจจุบันจึงต้องเป็นการศึกษาที่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงกันในหลากหลายรูปแบบหรือหลากหลายระบบ ไม่ถูกปิดกั้นให้อยู่ในเฉพาะกลุ่มในวงแคบอีกต่อไป การจัดการศึกษาที่กว้างไกลในลักษณะการศึกษาข้ามวัฒนธรรม (Cross Culture Education) เพื่อมุ่งให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การเตรียมการและการสร้างความพร้อมให้กับประชาชนในประเทศ และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อไป ปัจจัยทางด้านการจัดการศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงเป็นกลไกสำคัญในการสร้างพลังทางการเมือง…