หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ได้จัดให้มีโครงการพัฒนานักศึกษาและอาจารย์ในการลงพื้นที่จริงด้วยการไปศึกษาสำรวจสถานที่สำคัญและเก็บข้อมูลภาคสนามทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของประเทศกัมพูชา ในระหว่างวันที่ 11-13 กรกฎาคม 2560 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเสียมเรียบ ปราสาทบายน ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายสรี และปราสาทนครวัด โดยผู้เข้าร่วมคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 (SEAS รุ่นที่ 1) จำนวน 34 คน และอาจารย์ประจำสาขา 6 ท่าน
Category: ออกภาคสนาม
โครงการประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสัญจรแหล่งอารยธรรมโบราณตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
ทางหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ได้จัดทำโครงการประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสัญจรแหล่งอารยธรรมโบราณตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ประจำปี 2559 ขึ้น ในระหว่างวันที่ 22-24 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ และสุรินทร์ มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของหลักสูตร จำนวน 43 คน และอาจารย์ 4 ท่านเข้าร่วมโครงการโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ตรงให้กับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดความรู้ความเข้าใจภูมิหลังทางภูมิศาสตร์ สถาปัตยกรรม และวัฒนธรรม ที่สัมพันธ์กับเศรษฐกิจ การค้า ศาสนา การปกครอง ตลอดจนเรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนปัจจุบันกับการอยู่ร่วมกันในพื้นที่อนุรักษ์วัฒนธรรม ของกลุ่มชนโบราณที่สร้างสรรค์อารยธรรมทวารวดี และเขมร ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดความภาคภูมิใจ และปลูกฝังค่านิยมในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทโบราณสถาน โดยทางหลักสูตรได้พานักศึกษาเข้าศึกษาตามสถานที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี เมืองโบราณศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ด่านชายแดนไทย-กัมพูชา ตลาดโรงเกลือ ปราสาสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ และกลุ่มปราสาทตาเมือน และปราสาทตาควาย จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าชมและอนุเคราะห์วิทยากร จากสำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี สำนักศิลปากรที่…
โครงการประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสัญจรแหล่งอารยธรรมโบราณตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ประจำปีการศึกษา 2559
หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มีกำหนดจัดโครงการประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสัญจรแหล่งอารยธรรมโบราณตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ประจำปีการศึกษา 2559 ขึ้น ระหว่างวันที่ 22-24 ตุลาคม 2559 เพื่อส่งเสริมพื้นฐานความรู้ความเข้าใจให้กับนักศึกษาใหม่สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ในมิติประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การพัฒนา รวมทั้งด้านประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความพร้อมสำหรับการทำงานข้ามวัฒนธรรม โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จำนวน 45 คน มีคณาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตรลุ่มน้ำโขงศึกษา เข้าร่วมอีก 15 คน รวมเป็น 60 คน เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจพื้นฐานดังกล่าวให้กับนักศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของท้องถิ่นและภูมิภาคจากประสบการณ์ตรง ในการศึกษาสำรวจพื้นที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่มชนโบราณที่สร้างสรรค์อารยธรรมทวารวดี และเขมร ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดความรู้ความเข้าใจภูมิหลังทางภูมิศาสตร์ สถาปัตยกรรม และวัฒนธรรม ที่สัมพันธ์กับเศรษฐกิจ การค้า ศาสนา การปกครอง ตลอดจนเรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนปัจจุบันกับการอยู่ร่วมกันในพื้นที่อนุรักษ์วัฒนธรรม สาขาอาณาบริเวณศึกษาจึงเห็นสมควรสนับสนุนให้นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ของหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จำนวน 45 คน ได้เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว…